การเข้าร่วมโครงการ Talent Mobility

Talent Mobility
     เป็นโครงการส่งเสริมให้นักวิจัยในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐได้ไปปฏิบัติงานร่วมกับ
ภาคเอกชน เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ

1. หลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ
     1.1 กิจกรรมของสถานประกอบการที่รองรับการปฏิบัติงานของนักวิจัย ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้
          - การวิจัยและพัฒนา
          - การแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคและวิศวกรรม
          - การวิเคราะห์ทดสอบและระบบมาตรฐาน
         - การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม

     1.2 นักวิจัยต้องไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3
เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี และต้องมีหน่วยงานต้นสังกัดเป็นมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยของภาครัฐ
          - หน่วยงานต้นสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยของภาครัฐ ที่มีภารกิจ/หน้าที่
วิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีนักวิจัยและงานวิจัยภายในหน่วยงาน
         - นักวิจัย มีความรู้ ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และได้รับความเห็นชอบจาก
หน่วยงานต้นสังกัดสามารถปฏิบัติงานได้ทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่ม ทั้งนี้สามารถนำนักศึกษามาร่วมปฏิบัติงานใน
โครงการได้
     1.3 สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายไทย ได้แก่
บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ วิสาหกิจชุมชน และเครือข่าย
วิสาหกิจ

*ทั้งนี้ นักวิจัย จะต้องเป็นไปตามระเบียบ มจพ. ว่าด้วยการใช้คณาจารย์ไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
การแข่งขันในภาคเอกชน พ.ศ. 2558 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559

2. วัตถุประสงค์
     - เพื่อเชื่อมโยงงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสู่ภาคอุตสาหกรรม
     - เพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับภาคอุตสาหกรรม
     - เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ของนักวิจัยกับภาคอุตสาหกรรรม

3. งบประมาณสนับสนุน
   → สนับสนุนค่าตอบแทน สำหรับอาจารย์ นักวิจัย จำนวนไม่เกิน 400,000 บาท ต่อโครงการ โดย
คิดจาก FTE : Full Time Equivalent และอัตราค่าตอบแทนหรือเงินสนับสนุนต่อวัน ดังนี้
      - อาจารย์ 4,000 บาท
      - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 5,000 บาท
      - รองศาสตราจารย์/ศาสตราจารย์ 6,000 บาท
   →  สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เช่น ค่าจ้างวิเคราะห์และทดสอบ ค่าวัสดุอุปกรณ์ตาม
ระเบียบของสถาบันอุดมศึกษา วงเงินไม่เกิน 200,000 บาท
   →  สนับสนุนงบประมาณชดเชยเพื่อจ้างบุคลากรทดแทน เดือนละไม่เกิน 60,000 บาท ให้กับ
สถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัด
   →  สนับสนุนค่าตอบแทนผู้ช่วยนักวิจัย
     - นักศึกษาระดับปริญญาเอก 12,000 บาท/เดือน
     - นักศึกษาระดับปริญญาโท 10,000 บาท/เดือน
     - นักศึกษาระดับปริญญาตรี 8,000 บาท/เดือน
*ทั้งนี้ งบประมาณสนับสนุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามปีงบประมาณที่ทางมหาวิทยาลัยได้รับ

4. ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการ
  → นักวิจัย
ได้ผลงานวิจัยที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและสามารถนำไปใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์เมื่อ
นักวิจัยเข้าไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ จะได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง สวัสดิการตามปกติจาก
หน่วยงานต้นสังกัดและค่าตอบแทนนักวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐ นอกจากนี้ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นสามารถนำไปใช้ใน
การประเมินผลงานได้
   → หน่วยงานต้นสังกัด
ได้รับค่าชดเชยเพื่อหาบุคลากรปฏิบัติงานทดแทน ในกรณีที่นักวิจัยเข้าไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ที่เป็นธุรกิจขนาดย่อมหรือขนาดกลาง SME
   → สถานประกอบการ
ได้นำงานวิจัยมาช่วยเพิ่มคุณภาพหรือลดต้นทุนการผลิต อีกทั้งสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพที่ดี
ขึ้นรวมถึงการเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และสถานประกอบการจะได้นักศึกษาที่มีความรู้ในเรื่องที่ทำวิจัยไปร่วมงาน
กรณีที่นักวิจัยนำผู้ช่วยนักวิจัยที่เป็นนักศึกษาเข้าไปทำงานวิจัยร่วมและสถานประกอบการมีการพูดคุยในเรื่องการ
ทำงานของนักศึกษาหลังจบการศึกษา


5. ติดต่อสอบถาม
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1518 ถนนประชาราษฎร์ 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
โทรศัพท์ : 0-2555-2000 ต่อ 1506
โทรสาร : 0-2556-1306
Website : talent.kmutnb.ac.th
E-Mail : talent_mobility@stri.kmutnb.ac.th